วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อ้างอิง


อ้างอิง

http://www.thaigoodview.com/node/18277?page=0%2C0
http://fws.cc/udontham/index.php?action=profile;u=8;sa=showPosts
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/human/03.html


ลักษณะที่สำคัญของมนุษย์ในปัจจุบัน

สำหรับมนุษย์ในปัจจุบันนั้น นักมนุษยวิทยาพบว่า มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากมนุษย์ในอดีตอยู่หลายประการ คือ
     1.ยืนตัวตรง เคลื่อนที่ด้วยขา 2 ขา ช่วงขายาวกว่าช่วงแขน
     2.หัวแม่มือสั้นและงอ พับเข้ามาที่อุ้งมือได้ สามารถงอนิ้วทั้ง 4 ได้ จึงใช้จับ ดึง ขว้าง ทุบ ฉีก แกะ และทำกิจกรรมต่างๆได้ รวมทั้งการออกแบประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ได้
     3.กระดูกคอต่อจากใต้ฐานหัวกะโหลก กระดูกสันหลังโค้งเล็กน้อย เป็นรูปตัว เอสและสมองมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับร่างกาย หน้าสั้นแบน หน้าผากค่อนข้างตั้งตรงขากรรไกรสั้น
     4.กระดูกสะโพกกว้าง ใหญ่และแบนให้กล้ามเนื้อเกาะเพื่อให้ลำตัวตั้งตรงเท้าแบนร่างกายไม่ค่อยมีขนแนวฟันโค้งเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม
การศึกษาค้นคว้าเปรียบเทียบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ในอดีต    นอกจากทำให้นักมนุษยวิทยาทราบความเป็นมา ของบรรพบุรุษมนุษย์ในอดีตแล้ว  ยังทำให้สามารถอธิบายถึงความเป็นอยู่ และการดำลงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุดได้อีกด้วย  คือ
      1.  การอยู่เยี่ยงเดรัจฉาน ( savagery ) เป็นยุดที่มนุษย์เพศชายยังทำหน้าที่ล่าสัตว์และแสวงหา พืช  ผัก ผลไม้เป็นอาหารตามธรรมชาติ  แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
           1.1  ระยะก่อนรู้จักใช้ไฟและภาษา  ตรงกับยุดหินเช่นเก่า  ( Eolithic )  พบในมนุษย์พวก Homo  habilis
           1.2  ระยะรู้จักใช้ไฟและภาษา   ตรงกับเก่าเช่นกัน  มนุษย์พวกนี้รู้จักใช้ถํ้าเป็นที่อยู่  อาศัย  ได้แก่  พวกมนุษย์  Homo   erectus  ซึ่งก็คือ มนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง นั้นเอง
           1.3  ระยะรู้จักประดิษฐ์ธนูและลูกศร  ตรงกับยุดหินกลาง มนุษย์พวกนี้รู้จักการใช้หนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่มได้แก่ มนุษย์Homo  sapiens
      2.การอยู่อย่างป่าเถื่อน(Babarism)เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการใช้โลหะทำเครื่องมือ ทำการเกษตรกรรม  ทอผ้า  สังคมในยุคนี้มีระบบทาส  เพศชายมีภรรยาได้
หลายคน   และทำหน้าที่ปกครอง  ส่วนเพศหญิงทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
           2.1ระยะแรกประมาณ 12000 ปีมาแล้ว ยุคนี้มนุษย์รู้จักการปลูกบ้านสร้างเรือนเพื่ออยู่อาศัย รู้จักใช้ขวานมีด้ามและใช้เครื่องปั้นดินเผา
           2.2ระยะกลางประมาณ 10000 ปีมาแล้วมนุษย์ยุคนี้รู้จักการเลี้ยงสัตว์การเกษตรกรรมรู้จักใช้สัตว์ช่วยในการไถนาหรือบรรทุกสิ่งของ
           2.3ระยะหลังประมาณ 7000ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักใช้โลหะทำอาวุธหรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
      3.การอยู่อย่างมีอารยธรรม(Civilization)เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง มีการใช้ตัวอักษรในการสื่อความหมาย สังคมเปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม

เผ่าพันธุ์ของมนุษย์

ผลจากการวิวัฒนาการในช่วงเวลายาวนาน ทำให้มนุษย์ในปัจจุบันมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไปหลายแบบ ทั้งในแง่ของเส้นผม รูปร่าง ใบหน้า ความสูง รูปทรงศีรษะ หรือแม้กระทั่งสีผิว ทั้งๆที่ต่างก็เป็นสปีชีส์เดียวกัน มานุษยวิทยามีความเชื่อว่าในอดีตนั้นมนุษย์มีผิวสีเข้มเพียงสีเดียวเนื่องจากไม่มีขนหนาๆปกคลุมร่างกายเหมือนไพรเมตอื่นๆ จึงต้องมีผิวสีเข้ม เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ต่อมาเมื่อมนุษย์มรการกระจายพันธ์ไปยังบริเวณต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะในบริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นหรือเขตหนาวซึ่งได้รับแสงอาทิตย์น้อยกว่าเขตร้อนมากมนุษย์จึงมีการปรับตัวที่ละน้อยๆกลายเป็นมนุษย์ที่มีสีผิวแตกต่างกัน
       1.เผ่าคอเคซอยด์(Caucasoid)มีหนวดเคราและขนตามตัวดก จมูกโด่ง มีสีผิวอ่อน ได้แก่มนุษย์ที่อาศัยในแถบยุโรปและชาวอาหรับ
       2.เผ่ามองโกลอยด์(Mongoloid)มีหนวดเคราและขนตามตัวน้อย จมูกแฟบ โหนกแก้มสูง ตาชั้นเดียว มีผิวสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ได้แก่ มนุษ ย์แถบเอเชียและชาวเอสกิโม
       3.เผ่านีกรอยด์(Negroid)มีผมหยิก ผิวดำ จมูกแฟบ ริมฝีปากหนา ได้แก่พวกปิกมี ZPigme)หรือพวกที่อยู่ทางใต้ทะเลทรายซาฮารา
       4.เผ่าออสเตรลอยด์(Australoid)มีขนและเคราดำ ผมหยิก ผิวดำ ได้แก่ชนพื้นเมืองของออสเตรเลีย และหมู่เกาะฟิลิปปินส์
จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นไม่หยุดนิ่ง มนุษย์รู้จักใช้เหตุผลเพื่อปรับปรุงการดำรงชีพให้เหมาะสม สามารถสร้างเครื่องมือนานาชนิดในการดำรงชีพมนุษย์รู้จักคิดและใช้ปัญญาในการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์โดยอาศัยปัญหาในอดีตเป็นแนวทางเพื่ออนาคต   รู้จักริเริ่มการมีภาษาพูด   ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนาและจริยธรรมเมื่อรวมกลุ่มเป็นสังคมก็มีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นสืบทอด หลายชั่วอายุ ตลอดมา    มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน 

สปีชีส์หรือชนิดของมนุษย์
ในปัจจุบัน มีมนุษย์คงเหลืออยู่เพียงชนิดเดียว หรือเพียงสปีชีส์ (species) เดียวคือ โฮโม เซเปียนส์ (Homo sapiens) สปีชีส์ (Species) เป็นหน่วยพื้นฐาน ที่ใช้จัดหมวดหมู่ ของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยประชากร ที่มีความสัมพันธ์กัน อย่างใกล้ชิดทางบรรพบุรุษ ไว้เป็นสปีชีส์เดียวกัน (ที่จริงต้อง รวมความสามารถ ในการเจริญพันธุ์ในกลุ่ม ไว้ด้วย แต่คงยาก ที่จะศึกษา จากซากฟอสซิล)
กลุ่มของหลายสปีชีส์ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน และมีความสัมพันธ์กัน รวมเรียกว่า สกุล หรือ จีนัส (Genus)
หลายๆจีนัส ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รวมกันเรียกว่า วงศ์ (Family)
หลายๆวงศ์ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รวมกันเรียกว่า ลำดับ (Order)
หลายๆลำดับ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รวมกันเรียกว่า ชั้น (Class)
หลายๆชั้น ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รวมกันเรียกว่า ไฟลัม (Phylum)
หลายๆไฟลัม ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รวมกันเรียกว่า อาณาจักร (Kingdom)
 การที่เราต้องแบ่งสิ่งมีชีวิต ออกเป็นกลุ่มๆแบบนี้ ก็เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ป้องกันความสับสน เช่น เมื่อเรากล่าวถึง สปีชีส์ โฮโม เซเปียนส์ ก็จะเข้าใจตรงกันว่า หมายถึง มนุษย์ปัจจุบัน (Modern Human)
เมื่อเรากล่าวถึง ลักษณะซากฟอสซิล ของสิ่งมีชีวิต ในจีนัส โฮโม (Homo) ผู้ศึกษาก็จะเข้าใจเหมือนกันว่า คือ การศึกษา ลักษณะซากฟอสซิล ทุกสปีชีส์ ของสิ่งมีชีวิต ในจีนัสโฮโม (Homo)
เมื่อเรากล่าวถึง การศึกษาโฮมินิดส์ (Hominids) ผู้ศึกษาก็จะเข้าใจเหมือนกันว่า คือ การศึกษา สิ่งมีชีวิต ในวงศ์ โฮมินิดส์ (Hominids) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิต ที่อยู่ในสายวิวัฒนาการ จากลิงใหญ่ (Ape) มาเป็นมนุษย์ ที่สามารถเดิน 2 ขา ได้โดยไม่ต้องใช้มือช่วยพยุง ประกอบด้วย 3 จีนัส คือ จีนัส โฮโม (Homo) , จีนัส ออสตราโลพิเธคคัส (Australophithecus) และ จีนัส อาร์ดิพิเธคัส (Ardipithecus)
มนุษย์ในปัจจุบัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) คือเป็นชนิด หรือสปีชีส์ โฮโม เซเปียนส์ อยู่ในจีนัส โฮโม (Homo) ในวงศ์ โฮมินิดส์ (Hominids) ปัจจุบันสิ่งมีชีวิตในวงศ์โฮมินิดส์ คงเหลืออยู่เพียงสปีชีส์เดียวคือ โฮโม เซเปียนส์ หรือมนุษย์เราในปัจจุบัน สปีชีส์อื่นสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ได้แก่ พวกมนุษย์โบราณ ที่กลายมาเป็นซากฟอสซิล ให้พวกเราได้ศึกษา นั่นเอง
การแบ่งสิ่งมีชีวิต ออกเป็นหมวดหมู่ และ การเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบนี้ เพิ่งเริ่มนำมาใช้เมื่อ 200 กว่าปีมานี้เอง โดยนักวิทยาศาสตร์ ชาวสวีเดน ชื่อ คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus : 1707-1778)
ในปัจจุบัน การแบ่งสิ่งมีชีวิต ออกเป็นหมวดหมู่แบบนี้ นอกจากสิ่งมีชีวิต ในหมวดหมู่เดียวกัน จะมีความ ใกล้เคียงกัน ในรูปร่างลักษณะแล้ว ยังมีความ ใกล้เคียงกัน ในแบบแผนการเจริญเติบโต องค์ประกอบทางชีวเคมี สรีรวิทยา ของร่างกาย และสายการวิวัฒนาการอีกด้วย


จากการศึกษา การกระจายของมนุษย์ในอดีต พบว่ามนุษย์วานร พวก Australopihecus sp.อาศัยอยู่ในแถบเอธิโอเปีย ทนวาเนีย และเคนยา ซึ่งเป็นแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ส่วนพวกมนุษย์ที่แท้จริงพวกแรกๆ คือ Homo habilis และ Homo erectus พบว่ามีการกระจายเป็นบริเวณกว้างกว่า กล่าวคือ พบทั้งในแถบตะวันออกและทางใต้ของทวีปแอฟริกา ยุโรป จีน และอินโดนีเซีย สำหรับมนุษย์นีแอนด์เดอร์ทัลนั้นพบซากดึกดำบรรพ์ค่อนข้างมากในทวีปยุโรปเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกะโหลกของไพรเมตตั้งแต่ยุคแรกๆจนกระทั่งถึงมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะต่างๆ หลายประการ เช่นรูปทรง ลักษณะขนาดและสัดส่วนต่างๆของกะโหลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยาว และขนาดของขากรรไกร ลักษณะของหน้าผาก และรูปแบบการ จัดเรียงตัวของฟัน เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สายวิวัฒนาการต่อเนื่องกันเป็นลำดับ
การศึกษาเรื่องราววิวัฒนาการของมนุษย์เป็นเวลายาวนานทำให้มนุษย์วิทยาอธิบายถึงความเกี่ยวโยงกันของบรรพบุรุษมนุษย์ในอดีตเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบันได้ โดยเชื่อกันว่าในช่วงเวลาประมาณ 15 ล้านปีมาแล้วนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกจนเกิดเป็นRamapithecusซึ่งเป็นมนุษย์วานรยุคแรกๆที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างไพรเมตกับบรรพบุรุษของมนุษย์ในเวลาต่อมามนุษย์วานรพวกนี้อาศัยอยู่ในที่โล่งแจ้งหรือตามชายป่า  กินพืช  ผัก  ผลไม้เป็นอาหารยังมีพฤติกรรมคล้ายลิงไม่มีหางอยู่มาก ต่อมาจึงวิวัฒนาการเป็นพวกAustralpithecus  ชนิดต่างๆซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ 5 ล้านปีมาแล้วมนุษย์วานรพวกนี้เริ่มเดินด้วยลำตัวที่ตั้งตรงได้ดีขึ้นช่วยให้มองเห็นผู้ล่าและเหยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังมีลักษณะโบราณอยู่คือมีขากรรไกรขนาดใหญ่ หน้าผากลาดไปด้านหลัง ขนาดสมองยังเล็กเมื่อเทียบกับใบหน้าขนาดใหญ่ พวกเขาสามารถล่าสัตว์กินเป็นอาหาร ซึ่งนับเป็นจุดหักเหสำคัญที่มนุษย์วานรเปลี่ยนแปลงจากการกินพืชผักมาเป็นกินเนื้อสัตว์ด้วย ต่อมาประมาณ 2 ล้านปีที่ผ่านมาจนถึงยุคของบรรพบุรุษของมนุษย์ คือ Homo habilsซึ่งรู้จักการตั้งถิ่นฐานมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่เพศชายออกล่าอาหารเพศหญิงก็ดูแลลูกอ่อน รักษาผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือออกหาผลไม้ มนุษย์ยุคนี้เริ่มมีความผูกพันต่อกันเป็นสังคม  เริ่มต้นที่มีการเลือกคู่ไม่สมสู่กันเหมือนไพรเมตชนิดอื่นๆ  เมื่อมาถึงยุคของ Homoerectus  ซึ่งถือว่าเป็นมนุษย์แรกเริ่มนั้น วิวัฒนาการขยองมนุษย์ก้าวไปมากขึ้น รู้จักการใช้ไฟ เพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในยุคนั้นรู้จักการใช้หอกไม้ในการล่าสัตว์ใหญ่ๆเช่น กวาง ม้า รู้จักการหุงต้มอาหารให้สุก รู้จักการใช้หนังสัตว์ เป็นเครื่องนุ่งห่ม จนกระทั่งเมื่อ 3 แสนปีที่ผ่านมาจนถึงยุคของมนุษย์ยุคใหม่ คือ  Homo sapiens ซึ่งได้พัฒนารูปแบบสมองให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แม้จะมีใบหน้าเล็กก็ตาม ส่วนของขากรรไกรสั้นลง หน้าผากเกือบตั้งตรง  ทำให้รูปโฉมใบหน้าเปลี่ยนไปจากเดิม นอกจากนี้ยังสามารถทรงตัว และเคลื่อนที่ด้วยขา 2 ขาในขณะที่ลำตัวตั้งตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

มนุษย์วานร


มนุษย์วานร
 มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก สูงประมาณ1 - 1.5 เมตร และหนักประมาณ 68 กิโลกรัม มีโครงกระดูกที่แข็งแรง และรูปแบบของฟันคล้ายมนุษย์ในปัจจุบัน บริเวณลำคัว อาจไมีมีขน ขณะวิ่งลำตัวจะตั้งตรง อยู่กันเป็นกลุ่ม20-30 คน สามารถใช้หินหรือ เครื่องมือง่ายๆ เช่น กระดูกบสัตว์ สำหรับล่าสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นอาหารได้ นักวิทยาศาสตร ์ได้ ้ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ พวกนี้ที่บริเวณตอนใต้และตะวันออกของทวีปแอฟริกา จึงให้ชื่อว่า Australpithecus africanus ต่อมาจึงพบมนุษย์วานรพวกนี้อีก มีรูปร่างและขนาดใหญ่กว่าA.africanus จึงเรียกว่า A.robustus มนุษย์วานรชนิดนี้มีขากรรไกรขนาดใหญ่เทอะทะแสดงให้เห็นว่ากินพืชเป็นอาหาร จนกระทั่ง ค.ศ.1947Donald   Joanson ก็ได้ค้นพบมนุษย์วานรพวกนี้อีกชนิดหนึ่งบริเวณทางตินเหนือของประเทศเอธิโอเปีย
มีชื่อเรียกว่า A.afarensis ซึ่งถือว่ามี ความใกล้ชิดกับบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบันมาก  Genus Homoเป็นไพรเมตที่สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตได้แล้วถือว่าเป็นกลุ่มที่มีวิวัฒนาการสูงที่สุด ได้แก่ มนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งมีสายวิวัฒนาการมาจากวานร แล้วเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ ดังนี้
1) Homo habilis


เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ชนิดนี้ที่บริเวณภาค ตะวันออกของแอฟริกา มีอายุประมาณ 2-4 ล้านปี มีขนาดสมองประมาร 800 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีฟันที่แสดงให้เห็นว่ากินเนื้อสัตว์ เป็นอาหารด้วย จึงจัดเป็นผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า มนุษย์ ชนิดนี้อาจจะยังมีขนแบบลิงอยู่แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ามนุษย์ชนิดนี้เป็นมนุษย์พวกแรกที่รู้จักการใช้หินมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือหรือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตได้



2) Homo  erectus

เป็นมนุษย์ที่มีใบหน้าตั้งตรงเหมือนมนุษย์ยุคใหม่แล้ว มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรง โดยขากรรไกรจะเริ่มหดสั้นกว่า  Homo habilis ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับรูหู มีขนาดสมองประมา1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เชื่อกันว่ามนุษย์ชนิดนี้ไม่มีขนแบบลิงแล้ว และมีการกระจายตั้งแต่แอฟริกาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และยุโรป มนุษย์ยุคนี้เริ่มรู้จักการใช้ไฟ และประดิษฐ์ เครื่องมือต่างๆ จากก้อนหินได้ดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงจัดให้เป็นมนุษย์แรกเริ่ม(Early  man) ที่รู้จักกันดีก็คือมนุษย์ชวา (Java ape man)และมนุษย์ปักกิ่ง(Peking man) สำหรับมนุษย์ปักกิ่งนั้นถูกค้นพบซากอยู่ที่ถ้ำ จูกูเทียน(Zhoukoudian)ทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้ทราบว่ามนุษย์ยุคนี้รู้จักการใช้ไฟ มีการล่าสัตว์โดยใช้ขวานหิน และในบางครั้งมนุษย์ปักกิ่งเป็นพวกที่กินเนื้อมนุษย์พวกเดียวกันอีกด้วย

3) Homo sapiens neanderthalensis  หรือ มนนุษย์ดีแอนเดอร์ทัล



 เป็นมนุษย์ที่พบว่ามีชีวิตอยู่ในช่วงทีน้ำส่วนใหญ่ของโลกกลายเป็นน้ำแข็งโดยซากดึกดำบรรพ์ที่พบมีอายุประมาณ 1 แสน ถึง 1 ล้านปี มีขนาดสมองประมาณ 1450 ลูกบาศก์เซนติเมตร ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับเหนือรูหู มีขากรรไกรล่างสั้นลักษณะหน้าผากเป็นสันนูนและลาดกว่ามนุษย์ในปัจจุบันสามารถยืนโดยลำตัวตั้งตรงรู้จักการใช้ไฟ การล่าสัตว์ รูจักประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆโดยใช้หินคนที่ตายแล้วจะถูกนำไปฝังพร้อมกับช่อดอกไม้ อาหาร และอาวุธ มนุษย์พวกนี้รู้จักการหาที่อยู่อาศัยทั้งในถ้ำ หุบเขา หรือที่ราบ พบกระจายในบริเวณต่างๆกว้างขวางมากตั้งแต่ยุโรปตะวันออกกลาง แอฟริกา ไปจนถึงประเทศจีน

4) Homo  sapiens  sapiens หรือ มนุษย์โครมายอง(Cro - Magnon man)


มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบัน กล่าวคือ มีกะโหลกศีรษะโค้งมน มากขึ้น ขากรรไกรหดสั้นลงกว่ามนุษย์นีแอนด์เดอร์ทัลมาก และแก้มนูนเด่นชัดขึ้น แม้ว่ามนุษย์ ชนิดนี้จะมีใบหน้าเล็กแต่ก็มีสมองขนาดใหญ่ประมาณ 1300-1500 ลูกบาศก์เซนติเมตรซึ่งมีความเฉลียวฉลาดสามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆสำหรับดำรงชีพและรู้จักการเขียนภาพต่างๆด้วยจากการศึกษาพบว่ามนุษย์โครมายองมีชีวิตอยู่ใน ช่วงประมาณ 50000 ปีมาแล้ว

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555


วิวัฒนาการของมนุษย์(evolution)

เมื่อประมาณ 20 ล้านปีที่ผ่านมา  เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  โดยมีทุ้งหญ้าขึ้นมาทดแทนป่าที่อุดมสมบูรณ์   ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิด  มีวิวัฒนาการมาดำรงชีวิตบนพื้นดินมากขึ้น  จากหลักการซากดึกดำบรรพ์และการเปรียบเทียบลำดับเบสบน DNA ระหว่างมนุษย์และชิมแปนซี  พบว่ามนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ 7-5 ล้านปีที่ผ่านมา                                                                                                                               
ตามการจำแนกแบบอนุกรมวิธาน นักชีววิทยาได้จัดให้มนุษย์อยู่ในหมวดหมู่ต่อไปนี้
Kingdom      Animalia
 Phylum         Chordata 
 Class            Mammalia 
 Order           Primate 
 Family         Hominidae 
 Genus          Homo 
 Spicies         Homo  sapiens 

จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์  นักบรรพชีวินได้คาดคะเนลำดับขั้นตอนการสืบสายวิวัฒนาการของมนุษย์ได้  ดังนี้

ออร์เดอร์ ไพรเมต (Primate)
เป็นออร์เดอร์หนึ่งในจำนวนทั้งหมด 17 ออร์เดอร์ในคลาสแมมมาเลียการจำแนกสัตว์อยู่ในออร์เดอร์นี้ขึ้นอยู่กับลักษณะหลายๆลักษณะมารวมกันซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นผลมาจากวิวัฒนาการของสัตว์พวกนี้ในการอาศัยอยู่บนต้นไม้ ทำให้มีลักษณะมือขาและการใช้ประสาทรับความรู้สึกต่างๆให้เข้ากับการดำรงชีวิตในสิ่งเเวดล้อมดังกล่าวแต่มีวิวัฒนาการของบางลักษณะที่เป็นผลจากวิวัฒนาการในช่วงหลังๆที่เป็นไปเพื่อการดำรงชีวิตอยูบนพื้นดิน  ลักษณะของออร์เดอร์ไพรเมต คือมีนิ้ว 5 นิ้ว ปลายนิ้วมีเล็บแบน นิ้วยาว นิ้วหัวแม่มือพับขวางกับนิ้วอื่นได้ดี สมองใหญ่ จมูกสั้น ตาชิดกัน (ทำให้สามารถมองภาพจากสองตามาซ้อนกันเกิดเป็นภาพสามมิติซึ่งดีต่อการดำรงชีวิตอยู่บนต้นไม้)ขากรรไกรห้อยต่ำในออร์เดอร์ไพรเมตมีสมาชิกทั้งหมด 180 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลก ได้เเก่ มนุษย์ ลิงลม ลิงทาเซียร์ ลิงแสม ลิงมาโมเซต กอริลลา ชิมแพนซี และอุรังอุตัง
ลักษณะสำคัญของแฟมิลีโฮมินิดี(Hominidae) คือมีเขี้ยวเล็กและอยู่ในระดับเดียวกับฟันอื่นๆ เดิน 2 ขา เนื่องจากเปลี่ยนวิถีชีวิตจากบนต้นไม้มาสู่พื้นดิน แต่ก่อนเคยคิดว่าประกอบด้วย  จีนัสคือ รามาพิเทคัส 


วิวัฒนาการของมนุษย์


วิวัฒนาการ ในความหมายทั่วไป หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง  ในลักษณะจองการค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับขึ้นโดยอาศัยระยะเวลาอันยาวนาน  วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจากสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมสืบต่อกันมาจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน  ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมอันเป็นผลจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ดอบซานสกี (Dobzhansky)  นักพันธุศาสตร์และวิวัฒนาการชาวรัสเซีย ได้กล่าวไว้ดังนี้  วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  คือกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ส่วนประกอบของพันธุกรรมของประชากรที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน  โดยการเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดอันเป็นผล มาจากปฏิกิริยาที่สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม  กระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่มีกาย้อนกลับเป็นอย่างเดิมอีก